คู่มือการปฏิบัติงานศาสนาพิธี

สังคมไทยถือว่าศาสนามีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม จนกลายเป็น วัฒนธรรมประเพณีที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความศรัทธาของประชาชน ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจในการประพฤติปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนพลเมืองได้ใช้ หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ มาเป็นเครื่องมือในการประพฤติปฏิบัติตน ให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาจิตใจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้มีความมั่นคง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดความสมานฉันท์แต่การที่ประชาชนพลเมืองจะเข้าถึง หลักธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนานั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากผลของการกระทำ มีลักษณะเป็นนามธรรมเช่นเดียวกับเรื่องการศึกษาที่จะทำให้ผู้ที่รับการศึกษาได้เกิดปัญญาจริง ๆ ย่อมเห็นผลช้าไม่เหมือนการสร้างวัตถุต่าง ๆ ที่สามารถเห็นผลได้รวดเร็วทันใจ ดังนั้น ศาสนา ทุกศาสนาจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการให้ศาสนิกชนของตนใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมร่วมกัน ปราชญ์ทั้งหลายจึงได้ให้ ความสำคัญของศาสนพิธีไว้ว่า “เป็นดังเปลือกของต้นไม้ซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มแก่นของต้นไม้คือ เนื้อแท้อันเป็นสาระสำคัญของศาสนาไว้” ซึ่งเมื่อกล่าวให้ถูกต้อง ก็สามารถกล่าวได้ว่า ศาสนพิธี และศาสนธรรมของศาสนาทั้งสองส่วนนี้ย่อมมีความสำคัญเสมอกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะหากไม่มีศาสนธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา ศาสนพิธีก็คงจะอยู่ได้ไม่นาน หรือหากมี เฉพาะศาสนธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา แต่ไม่มีศาสนพิธีแก่นแท้ของศาสนาก็ย่อมอยู่ได้ ไม่นานเช่นกัน เพราะศาสนิกชนขาดแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นศูนย์กลางอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

รูปภาพ

อ้างอิง

http://dra.go.th/emedia/booklist.php?PAGE=1&groupid=1